ตำบลเวียงตาล

เทศบาลตำบลเวียงตาล

ตราสัญลักษณ์องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงตาลเป็นรูปอนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาล หมายถึง เจ้าพ่อขุนตาลหรือ พระยาเบิกเป็นผู้สร้างเมืองเวียงต้านขึ้น (ปัจจุบันเวียงตาล) เพื่อต้านทัพของพระยาเม็งราย ซึ่งยกทัพเข้ามาเพื่อรบเข้าตีเมืองลำปาง (เขลางค์นคร) และได้สู้รบจนถูกจับและนำไปฝัง จึงร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาลขึ้น ณ บริเวณเมืองเวียงต้านในอดีตยังปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่จนถึง ปัจจุบันอยู่ในตำบลเวียงตาล อาเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

เนื้อที่

มีพื้นที่ประมาณ 107.186 ตารางกิโลเมตร (66,991 ไร่ 1 งาน)

องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงตาล

ตั้งอยู่เลขที่ 352/3 หมู่ 4 ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

การเดินทางมาองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงตาล โดยเริ่มจากศาลากลางจังหวัดลำปาง มา ได้ 2 เส้นทางดังนี้

  1. มาตามถนนสายลำปาง-เชียงใหม่ (ทางหลวงแผ่นหมายเลขที่ 11) ระยะทางประมาณ 22.7 กิโลเมตร
  2. มาตามถนนทางหลวงแผ่นหมายเลขที่ 1039 ทางประมาณ 25 กิโลเมตร

ประวัติ

ประวัติเจ้าพ่อขุนตาน
พญาเบิกหรือเจ้าพ่อขุนตาน    เป็นเจ้าเมืองเขลางค์นครและเจ้าเมืองต้าน เป็นราชบุตรของพญายีบา เจ้าเมืองหรภุญชัย (ลำพูน) ในราชวงศ์จามเทวีและเป็นธรรมเนียมและพระราชประเพณีราชวงศ์จามเทวี ราชบุตรองค์ใดก่อนขึ้นครองราชย์ นครหริภุญชัย จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยุพราชไปครองเมืองเขลางค์นครเสียก่อน  เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๑๔  ครั้งพญายีบาเป็นเจ้าครองนครหริภุญชัย  ก็ได้ให้พญาเบิก  หรือ    เจ้าพ่อขุนตาน  ราชบุตรไปครองเมืองเขลางค์นคร กระทั่งปี พ.ศ. ๑๘๒๔ กองทัพพญาเม็งราย  เจ้าเมืองเชียงรายและเจ้าเมืองฝางยกกองทัพมาตีเมืองหริภุญชัยแตก และยึดเมืองได้ พญายีบาจึงเสด็จหนีการรบไปพึ่งพญาเบิกผู้เป็นราชบุตรที่เมืองเขลางค์นคร เจ้าพญาเบิกจึงสะสมไพร่พลเพื่อป้องกันความมั่นคงของเมืองเขลางค์นคร  เจ้าพญาเบิกจึงไปสร้างเมืองต้านศึก  ขึ้นในพื้นที่บริเวณแห่งหนึ่งในเขตอำเภอห้างฉัตร ใกล้ทิวเขาใหญ่เมืองนั้นต่อมามีนามว่า  “เวียงต้าน” ส่วนทิวเขาสูงยาวเหยียดคั่นระหว่างลำปางและลำพูน  ซึ่งเป็นแนวทางวางกำลังไพร่พล  ตีสกัดกองทัพพญาเม็งราย  ต่อมาเรียกว่า“ดอยขุนต้าน”ซึ่งปัจจุบันก็คือดอยขุนตาน      การสู้รบที่เวียงต้านตามแนวเขาขุนต้านเป็นการสู้รบอย่างหนัก  ที่สุดก็พ่ายแพ้แก่กองทัพพญาเม็งราย  เจ้าพญาเบิกและเจ้าพญายีบาจึงถอยทัพร่นลงมาติดหล่มหนองใหญ่แห่งหนึ่ง  ปัจจุบันคือบ้านหลิ่งก้าน  ตำบลหนองหล่ม  อำเภอห้างฉัตร   นั่นเอง

วิสัยทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่น

เวียงตาลน่าอยู่    ชุมชนเข้มแข็ง   เศรษฐกิจมั่นคง   สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

หมายถึง   “องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงตาล    พัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่    สถานที่น่าท่องเที่ยวครอบครัวมีความอบอุ่นและสงบสุข    ชุมชนมีความเข้มแข็ง  เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ด้วยการบริหารจัดการที่ดี  โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน  ”

  1. สร้างการพัฒนาท้องถิ่น โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม    ในการพัฒนาท้องถิ่น   โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  การวางแผนพัฒนา การตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารการปกครอง
  2. การพัฒนาศักยภาพของคนและชุมชนให้เข้มแข็ง  สามารถพึ่งพาตนเองได้ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับครัวเรือน/ชุมชน
  3. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต  การศึกษา  สาธารณสุขมูลฐาน ตลอดจนอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
  4. การพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล ให้เป็นเมืองน่าอยู่มีความสงบ   สวยงาม   มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและมีเสน่ห์ดึงดูดให้คนมาท่องเที่ยว
  5. ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค    สาธารณูปการให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจในท้องถิ่น
  6. จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  7. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารและการบริการแก่ประชาชน ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการบริหารจัดการที่ดี

พันธกิจ

  1. สร้างการพัฒนาท้องถิ่น โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม   ในการพัฒนาท้องถิ่น   โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผนพัฒนา การตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารการปกครอง
  2. การพัฒนาศักยภาพของคนและชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับครัวเรือน/ชุมชน
  3. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา สาธารณสุขมูลฐาน ตลอดจนอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
  4. การพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล ให้เป็นเมืองน่าอยู่มีความสงบ   สวยงาม   มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและมีเสน่ห์ดึงดูดให้คนมาท่องเที่ยว
  5. ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค   สาธารณูปการให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจในท้องถิ่น
  6. จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  7. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารและการบริการแก่ประชาชน ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการบริหารจัดการที่ดี